smileยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่  # วิสัยทัศน์:ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งเกษตรกรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรม เด่นนำสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง             # คำขวัญ:พระประธานร้อยปี ศูนย์สารภีเด่นสง่า องค์ภูมิพลเสด็จมา มียางนาสูงใหญ่ เกษตรกรรมก้าวหน้า นามว่า"ขัวมุง"

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด






ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ITA


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.   ด้านกายภาพ

     1.1   ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

             เทศบาลตำบลขัวมุง ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการ จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

             ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอสารภี และห่างจากที่ว่าการอำเภอสารภีระยะทางประมาณ  8  กิโลเมตร  ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่  12  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งสิ้น  10.265  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ประมาณ  6,447  ไร่  จำแนกเป็น 

                            พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน  1,325  ไร่ 

                            พื้นที่เพื่อการเกษตร จำนวน  5,010  ไร่

                            พื้นที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน  112  ไร่ 

             เทศบาลตำบลขัวมุงมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                            ทิศเหนือ ติดต่อกับ         ตำบลดอนแก้ว   อำเภอสารภี

                            ทิศใต้ ติดต่อกับ         ตำบลสันทราย   อำเภอสารภี

                            ทิศตะวันออก ติดต่อกับ         ตำบลท่ากว้าง    อำเภอสารภี

                            ทิศตะวันตก ติดต่อกับ         ตำบลสบแม่ข่า   อำเภอหางดง

     1.2   ลักษณะภูมิประเทศ

             สภาพภูมิประเทศของเขตพื้นที่ตำบลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขาหรือป่าไม้  มีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ตัดผ่านทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทศบาลตำบล และมีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางด้านตะวันตก

     1.3   ลักษณะภูมิอากาศ

             สภาพอากาศมีลักษณะเช่นเดียวกับพื้นที่ทางภาคเหนือ  โดยทั่วไปมี 3 ฤดู ดังนี้คือ

                       ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

                       ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

                       ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 

                       มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 38  องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส

     1.4    ลักษณะของดิน

              ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลขัวมุง เป็นดินร่วนปนทรายและดินตะกอน ซึ่งเกิดจากตะกอนดิน กรวด หิน ดิน ทราย อินทรียวัตถุที่น้ำพัดมาเกิดการทับถมของอินทรียวัตถุ มักจะเกิดตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิง

     1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

-  บ่อน้ำตื้นส่วนบุคคล

จำนวน

632

บ่อ

ใช้การได้

482

บ่อ

-  บ่อน้ำตื้นสาธารณะ

จำนวน

2

บ่อ

 

 

 

-  บ่อบาดาลส่วนบุคคล

จำนวน

1,287

บ่อ

ใช้การได้

1,282

บ่อ

-  บ่อบาดาลสาธารณะ

จำนวน

12

บ่อ

 

 

 

   

         

 

 

 

      1.6   ลักษณะของไม้และป่าไม้

             สภาพภูมิประเทศของเขตพื้นที่ตำบลขัวมุงมีลักษณะเป็นราบลุ่ม ไม่มีภูเขาหรือป่าไม้

2.   ด้านการเมือง/การปกครอง

      2.1   เขตการปกครอง

              เทศบาลตำบลขัวมุง  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10  หมู่บ้าน  ดังนี้

              หมู่ที่ 1  บ้านป่าเดื่อ          

              หมู่ที่ 2  บ้านสันทรายก้อม            

              หมู่ที่ 3  บ้านปากเหมือง               

              หมู่ที่ 4  บ้านท่ามะโอ                  

              หมู่ที่ 5  บ้านขัวมุง  

              หมู่ที่ 6  บ้านหัวดง 

              หมู่ที่ 7  บ้านหัวดง

              หมู่ที่ 8  บ้านไร่ดง

              หมู่ที่ 9  บ้านเดื่องกเหนือ

              หมู่ที่ 10  บ้านเดื่องกใต้

          2.2 การเลือกตั้ง  แบ่งเป็น 2 เขต ได้แก่

                เขตที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่  1  บ้านป่าเดื่อ

                                      หมู่ที่  2  บ้านสันทรายก้อม

                                      หมู่ที่  3  บ้านปากเหมือง

                                      หมู่ที่  4  บ้านท่ามะโอ

                                      หมู่ที่  5  บ้านขัวมุง

                เขตที่ 2 ได้แก่ หมู่ที่  6  บ้านหัวดง

                                      หมู่ที่  7  บ้านหัวดง

                                      หมู่ที่  8  บ้านไร่ดง

                                      หมู่ที่  9  บ้านเดื่องกเหนือ

                                      หมู่ที่  10 บ้านเดื่องกใต้

3.   ประชากร

      3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูล  ณ เดือนมิถุนายน 2564) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 221  ครัวเรือนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรเฉลี่ย 537  คนต่อตารางกิโลเมตร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

บ้านป่าเดื่อ

บ้านสันทรายก้อม

บ้านปากเหมือง

บ้านท่ามะโอ

บ้านขัวมุง

บ้านหัวดง

บ้านหัวดง

บ้านไร่ดง

บ้านเดื่องกเหนือ

บ้านเดื่องกใต้

289

256

169

322

271

262

195

326

262

184

264

286

176

306

286

252

203

412

257

208

322

329

216

337

287

264

235

423

301

239

586

615

392

643

573

516

438

835

558

447

รวมทั้งสิ้น

2,502

2,650

2,953

5,603

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.   สภาพทางสังคม

      4.1 การศึกษา

ในพื้นที่เทศบาลตำบลขัวมุง  มีสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  2 แห่ง ระดับที่เปิดสอน  ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

ที่

ชื่อโรงเรียน

สังกัด

ระดับที่เปิดสอน

จำนวนนักเรียน (คน)

ย้อนหลัง 3 ปี

2559

2560

2561

1

โรงเรียนบ้านปากเหมือง

สพฐ.

อ.1 – ม.3

260

283

276

2

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลขัวมุง

ทต.ขัวมุง

1 – 3 ปี

54

52

45

                  

                   

 

 

 

     4.2 สาธารณสุข

           มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  2  แห่ง คือ

         (1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขัวมุง มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานดังนี้

          - ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขัวมุง  (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ) จำนวน  1  คน

          - เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน  จำนวน  1  คน

          - เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน  จำนวน  1  คน

          - พยาบาลวิชาชีพ จำนวน  2  คน

          - และอาสาสมัครสาธารณสุข  จำนวน  103  คน

          ให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข   โดยเฉพาะงานส่งเสริมสุขภาพ  งานป้องกันและควบคุมโรค  งานรักษาพยาบาลและงานฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกชุมชน  มีผู้ป่วยนอกมารับบริการโดยเฉลี่ย  1,000  คน/เดือน

     (2) ศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี (แม่แก้วเรือน จิวหานัง อุปถัมภ์) สาขาโรงพยาบาลสารภี ให้การรักษา ฟื้นฟู และบำบัดผู้ป่วย โดยหลักการแพทย์แผนไทย อาทิเช่น การนวดเพื่อการรักษา  การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การจ่ายยาสมุนไพร

 

     4.3 อาชญากรรม

                   -

     4.4 ยาเสพติด

                   -

     4.5 การสังคมสงเคราะห์

             -    จำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ       ช่วงอายุ 60 ปี – 69 ปี              จำนวน     890  คน

                                                          ช่วงอายุ 70 ปี – 79 ปี              จำนวน     246  คน

                                                          ช่วงอายุ 80 ปี – 89 ปี              จำนวน     159  คน

                                                          ช่วงอายุ 90 ปี – 69 ปี ขึ้นไป      จำนวน       15  คน

                                                          รวม     1,310  คน                                                                                                                                           

             -     จำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ      จำนวน  205     คน

             -     จำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่ายเอดส์    จำนวน    12     คน

             (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2562)     

 

5.   ระบบบริการพื้นฐาน

      5.1 การคมนาคมขนส่ง

            เทศบาลตำบลขัวมุง  ตั้งอยู่ศูนย์กลางการคมนาคม มีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ผ่านพื้นที่และอยู่ใกล้กับตัวเมืองเชียงใหม่  และเป็นเส้นทางผ่านระหว่างเชียงใหม่  ลำพูน  โดยมีถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 4091 ผ่านหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลขัวมุง  ทำให้การคมนาคมไปยังอำเภอรอบ ๆ มีความสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งการส่งผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่ายในเมือง  หรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ มีรถโดยสารประจำทางผ่าน สายบ้านถวาย – ยางเนิ้ง

            สำหรับการคมนาคมภายในเขตเทศบาลตำบลขัวมุง  มีถนนสายหลัก ทั้งสิ้น 2 สาย และถนนตามซอยต่างๆ อีก 156 สาย (ถนนลาดยาง จำนวน 36 สาย, ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 95 สาย, ถนนลูกรัง จำนวน 25 สาย)

 

     5.2 การไฟฟ้า   จำนวนครัวเรือนที่มี/ไม่มีไฟฟ้าใช้ ปี 2561

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

มีไฟฟ้า

ไม่มีไฟฟ้าใช้

ร้อยละ

1

บ้านป่าเดื่อ

284

284

-

12.08

2

บ้านสันทรายก้อม

234

234

-

9.95

3

บ้านปากเหมือง

154

154

-

6.55

4

บ้านท่ามะโอ

286

286

-

12.17

5

บ้านขัวมุง

234

234

-

9.95

6

บ้านหัวดง

249

249

-

10.59

7

บ้านหัวดง

189

189

-

8.05

8

บ้านไร่ดง

318

318

-

13.54

9

บ้านเดื่องกเหนือ

221

221

-

9.41

10

บ้านเดื่องกใต้

181

181

-

7.71

รวม

2,350

2,350

2,350

100

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ

ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 10 หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน แยกได้ดังนี้

หมู่ที่ 1-8   ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสารภี

หมู่ที่ 9-10 ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน

     5.3 การประปา

           จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้/ไม่มีน้ำประปาใช้ ปี 2561

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

มีประปาใช้

ไม่มีใช้

ร้อยละ

1

บ้านป่าเดื่อ

284

284

-

12.08

2

บ้านสันทรายก้อม

234

234

-

9.95

3

บ้านปากเหมือง

154

154

-

6.55

4

บ้านท่ามะโอ

286

286

-

12.17

5

บ้านขัวมุง

234

234

-

9.95

6

บ้านหัวดง

249

249

-

10.59

7

บ้านหัวดง

189

189

-

8.05

8

บ้านไร่ดง

318

318

-

13.54

9

บ้านเดื่องกเหนือ

221

221

-

9.41

10

บ้านเดื่องกใต้

181

181

-

7.71

รวม

2,245

2,350

2,350

2,350

 

                  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     5.4 โทรศัพท์    -  โทรศัพท์ใช้ในบ้าน                จำนวน  954  ครัวเรือน

 

     5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์      

                   ในพื้นที่ไม่มีศูนย์ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง  และวัสดุ  ครุภัณฑ์

 

6.   ระบบเศรษฐกิจ

      6.1 การเกษตร  ในตำบลขัวมุงประชาชนมีอาชีพเกษตรกร ดังนี้

ประเภทการทำเกษตร

จำนวนครัวเรือน

จำนวนเนื้อที่ทำการเกษตร

1. ทำนานอกเขตชลประทาน

2

1 ไร่

2. ทำสวนลำไย

512

2,091 ไร่ 3 งาน

3. ทำสวนผักชี

17

27 ไร่ 3 งาน

4. ทำสวนพริก

4

1 ไร่ 3 งาน

5. ทำสวนมะเขือยาว

1

1 ไร่

6. ทำสวนดอกคำฝอย

1

2 ไร่

7. ทำสวนผักพื้นเมือง

2

7 ไร่

8. พืชผักสวนครัว

1

1 ไร่

            

                  

 

 

 

 

 

 

 

     6.2 การประมง  ในพื้นที่ไม่มีการทำประมง

     6.3 การปศุสัตว์

            - ฟาร์มไก่ไข่ นายเกรียงศักดิ์  คำวงค์ษา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7  บ้านหัวดง  มีไก่  จำนวน  1  โรง จำนวน 10,000 ตัว  

            - ฟาร์มหมู ของนายสุพจน์  คำตื้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านไร่ดง  มีหมู  จำนวน  5  คอก      จำนวน 20 ตัว

     6.4 การบริการ

           ศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี  (แม่แก้วเรือน จิวหานัง อุปถัมภ์)  สาขาโรงพยาบาลสารภี  ให้การรักษา ฟื้นฟู และบำบัดผู้ป่วย โดยหลักการแพทย์แผนไทย อาทิเช่น การนวดเพื่อการรักษา  การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การจ่ายยาสมุนไพร ตั้งอยู่หมู่ที่ 9  บ้านเดื่องกเหนือ

     6.5 อุตสาหกรรม

           โรงงานประเภทที่ 2

                  -  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี เค ไทย เกษตรและอุตสาหกรรม ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่  2  บ้านสันทรายก้อม  ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตข้าวผง/นมถั่วเหลืองผง  และการทำไม้กวาด

                  - โรงอบลำไย นายบุญมา พงศ์คำมา ตั้งอยู่เลขที่ 60/1 หมู่ที่ 4 บ้านท่ามะโอ ประกอบกิจการเกี่ยวกับการอบลำไย

            โรงงานประเภทที่ 3

                  -  บริษัทวัชรีเกษตรภัณฑ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านขัวมุง  ประกอบกิจการเกี่ยวกับ การเก็บถนอมอาหาร และการประกอบกิจการห้องแช่แข็ง

                  -  โรงงานอบลำไย นายวรโชติ ตันวรรณา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่ามะโอ  ประกอบกิจการเกี่ยวกับการอบลำไย

                  -  ปั้มน้ำมัน พี ที ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่ามะโอ ประกอบกิจการเกี่ยวกับปั้มน้ำมัน

                  -  ปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ ของนายเทพ เสวันตุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านไร่ดง ประกอบกิจการเกี่ยวกับปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ

     6.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

           -  กลุ่มออมทรัพย์ หมู่ที่ 1 - 10

           -  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ที่ 9

           -  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้แกะสลัก หมู่ที่ 4

           -  กลุ่มเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 6

           -  กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 2

           -  กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี หมู่ที่ 1 – 10

           -  กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชนตำบล

     6.7 แรงงาน

            ประชากรในตำบลขัวมุงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้าง และ ทำการเกษตร วัยทำงานส่วนมากจะออกไปทำงานนอกพื้นที่ตำบลขัวมุง

 

7.   ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

      7.1 การนับถือศาสนา

             ประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลขัวมุง

             ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ         ร้อยละ 99

             ศาสนาคริสต์                        ร้อยละ 0.5

             และศาสนาอิสลาม                  ร้อยละ 0.5

             เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลทั่วไปทางการศาสนา  และวัฒนธรรมจะพบว่า มีศาสนสถาน  ดังนี้

ที่

ชื่อวัด / ศาสนสถาน

ที่ตั้ง

จำนวน

พระภิกษุ – สามเณร/นักบวช

1

วัดป่าเดื่อ

หมู่ที่ 1 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 5

สามเณร 4

2

วัดศรีมูลเรือง

หมู่ที่ 3 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 2

สามเณร -

3

วัดปากเหมือง

หมู่ที่ 3 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 1

สามเณร 1

4

วัดขัวมุง

หมู่ที่ 5 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 2

 สามเณร -

5

วัดหัวดง

หมู่ที่ 7 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 2

 สามเณร -

6

วัดไร่ดงพุทธาราม

หมู่ที่ 8 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 2

สามเณร 2

7

วัดอุทุมพราราม

หมู่ที่ 9 ตำบลขัวมุง

พระภิกษุ 1

สามเณร 1

                  

 

 

 

 

 

 

 

 

     7.2 ประเพณีและงานประจำปี

           ในพื้นที่เทศบาลตำบลขัวมุง มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ และมีลักษณะการดำรงชีวิตของประชาชนเหมือนชาวเชียงใหม่ทั่วไป  ซึ่งประเพณีที่สำคัญได้แก่  เดือนเมษายนหรือเดือนเจ็ด ตามการนับเดือนของชาวล้านนา มีประเพณีที่โดดเด่นคือ  ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัว และในเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนยี่คือ  ประเพณียี่เป็งหรือการลอยกระทง

     7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

           ประชาชนในเขตเทศบาลได้ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

                  - การทำเครื่องจักรสาน

                  - ทำเกิ๋น

                  - ตัดตุง

                               ฯลฯ

          ประชาชนในเขตเทศบาลสื่อสารด้วยภาษาล้านนา

     7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                             - บ้านไม้ทรงไทยแบบจำลอง

                             - ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

                             -  ฯลฯ

 

8.   ทรัพยากรธรรมชาติ

      8.1 น้ำ พื้นที่ของตำบลขัวมุง  มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางด้านตะวันตก

      8.2 ป่าไม้  ในพื้นที่ตำบลขัวมุงไม่มีป่าไม้

      8.3 ภูเขา  ในพื้นที่ตำบลขัวมุงไม่มีภูเขา

      8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ  พื้นที่ในตำบลขัวมุงส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย และดินตะกอน

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 01/10/2558
วันนี้
93
เมื่อวานนี้
109
เดือนนี้
2,648
เดือนที่แล้ว
4,077
ปีนี้
24,849
ปีที่แล้ว
58,670
ทั้งหมด
325,178
ไอพี ของคุณ
3.239.8.7
สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ วันนี้ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน ปีนี้ ปีก่อน ทั้งหมด ไอพี ของคุณ
1/4/2019 93 109 2,648 4,077 24,849 58,670 325,178 3.239.8.7